A conversation with Phaptawan and Samak

27 June 2022

copied

A Thai language interview about gender, religious, and unanswered questions with two artists from 'Leave it and Break no Hearts' by Time Out | Suriyan Panomai

(ตัดตอนมาจาก บทสัมภาษณ์ฉบับเต็ม )

เรื่อง Suriyan Panomai

ภาพ สุภัทรา ศรีทองคำ

 

Leave it and break no hearts คือชื่อที่ยืมมาจากผลงานของพี่ช้าง ( ภาพตะวัน) ชิ้นหนึ่งซึ่งถูกนำมาจัดแสดงอยู่ในครั้งนี้ด้วย สำหรับเรานี่คือวลีสื่อถึงความเปราะบางและสภาวะกลืนไม่เข้าคายไม่ออกเมื่อต้องพูดถึงเรื่องเพศในบริบทของศาสนา พี่ช้างเล่าให้ฟังว่าชื่อนี้ได้มาจากตอนไปพำนักและทำงานอยู่ที่ทุ่งสัมฤทธิ์ อำเภอพิมาย จังหวัดนครราชสีมา ซึ่งมีอนุสาวรีย์การต่อสู้ของย่าโมหรือท้าวสุรนารีกับหลานสาวคือนางสาวบุญเหลือตั้งอยู่

พี่ช้างซึ่งมีคำถามในใจว่าด้วยเรื่องเกี่ยวกับความเป็นหญิงที่ถูกจำกัดสิทธิบางอย่างในบริบทของพุทธศาสนาอยู่แล้วก็ไปปะทะกับอนุสาวรีย์วีรสตรีที่ถูกใช้ประกอบสร้างประวัติศาสตร์ท้องถิ่นซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของความเป็นชาตินิยมก็เกิดคำถามขึ้นมาอีกครั้ง

“ระยะเวลา 4 อาทิตย์ที่เราอยู่ที่นั่นมันก็มีคำถาม แล้วคำถามนี้บางทีมันก็ไม่ได้มีคำตอบจากคนทั่วไปเพราะมันเป็นคำถามเชิงย้อนแย้ง กระทั่งได้มาเจอกับผู้อาวุโสที่อยู่ที่นั่นอาจารย์ทวี รัชนีกร (ศิลปินแห่งชาติ สาขาทัศนศิลป์ (ประติมากรรม) ปี พ.ศ. 2548) ก็บอกว่า อย่าไปทำร้ายหัวใจเขา”

“คำว่าอย่าไปทำร้ายหัวใจเขานี่มันตอบคำถามนะ มันตอบคำถามได้ว่าในบางพื้นที่ สิ่งหนึ่งหรือสภาวะหนึ่งมันได้กลายเป็นสิ่งใหม่ เป็นเอกลักษณ์ใหม่ไปแล้ว มันไม่ใช่สิ่งที่อยู่นิ่งๆ กับที่ มันเปลี่ยนไปตามกาลตามบริบทของมัน สำหรับพี่มันเลยเป็นโอกาสที่จะตั้งคำถาม แทนที่จะบอกคำตอบฟันธงว่าอันนี้ใช่หรือไม่ใช่ เพราะมันมีหัวใจรองรับอยู่”

“ชื่อนี้มันก็เลยอยู่ในใจมาตั้งแต่ก่อนมาทำงานกับสมัคร์แล้ว แต่ leave it and break no hearts มันจะมีขีดตรงคำว่า it กับคำว่า no ซึ่งเป็นประเด็นของสภาวะกลืนไม่เข้าคายไม่ออก ถ้าเอาสองคำนี้ออกไปมันก็คือ “leave and break hearts” How can you do that?” พี่ช้างเล่า

“ชื่อนี้จริงๆ อาจจะเป็นประเด็นที่ผมไม่ได้พูดตรงๆ ผ่านงานที่แสดงในที่ร้อยต้นสน แต่ก็รู้สึกว่ามันเป็นโจทย์ที่เราจะสามารถใช้มองกลับมาที่งานตัวเองได้เพราะการพูดเรื่องเพศที่สาม ผู้หญิงหรือประเด็นเรื่องเพศสภาพในสังคมมุสลิมมันก็เป็นเรื่องที่แตะไม่ค่อยได้เหมือนกัน ก็จะมีประเด็นที่สืบเนื่องกับงานพี่ช้างแต่ก็จะมีจุดที่ต่างกันอยู่บ้างเหมือนกัน อย่างงานของพี่ช้างจะพูดถึงสิ่งที่มีอยู่ แต่งานของผมจะพูดถึงสิ่งที่ไม่อยากให้มีอยู่ เช่น เพศที่ไม่ได้อยู่ในครรลอง ฉะนั้นมันก็จะมีลักษณะของการปล่อยหรือทิ้งมันไปอยู่ ผมก็เลยรู้สึกว่าชื่อนี้น่าสนใจมาก” พี่สมัคร์เสริม

 

SOURCE: www.timeout.com/bangkok

 

 

 

Back to News